บางระจัน



บางระจัน
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2481 สำนักพิมพ์เหม เวชกร
ไม้ เมืองเดิม
(พ.ศ. 2448 - 2485)


นามจริงของไม้ เมืองเดิม คือ ก้าน พึ่งบุญ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2448-2485)
นักประพันธ์ ซึ่งมีชีวิตที่ยากแค้น และอายุเพียง 37 ปีเท่านั้น เขียนนวนิยาย ในช่วง 6 ปีหลังของชิวิต ได้ไม่ต่ำกว่า 38 เรื่อง
ส่วนใหญ่พิมพ์จำหน่ายเป็นเล่ม มีลงพิมพ์ติดต่อกัน ในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นเรื่องยาวบ้าง ในระหว่างพ.ศ.2479 ถึง 2485
เรื่องขุนศึก เป็นนวนิยายที่ยาวที่สุด แต่เรื่องนี้ ผู้เขียน เขียนไว้ไม่จบ เนื่องจากต้องจบชีวิตเสียก่อน
บางระจัน นวนิยายเชิงประวัติศาสตร์ ที่เสมือนมหากาพย์ ของประชาชนไทย
เป็นงานที่สมบูรณ์ ทั้งเนื้อหาและศิลปการเขียน นับตั้งแต่หัวใจของเรื่อง ซึ่งได้แก่ วีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน ในการสู้พม่าข้าศึก
แบบยอมตาย ท่ามกลางความขลาดเขลาและเห็นแก่ตัว ของชนชั้นปกครอง
สำหรับรูปแบบนั้น นับว่าหมดจดงดงามทั้งในแง่ของตัวละครที่มีชีวิตชีวา สมจริง และในแง่ของวรรณศิลป์
โดยเฉพาะฉากสุดท้าย ที่ชาวบ้านบางระจันสู้ตายหมดทุกคน
แต่ละชีวิตที่ล้มลงด้วยดาบพม่าคนแล้วคนเล่า สามารถเรียกน้ำตาจากผู้อ่านได้
"บุตรชายนายทหารอาทมาตเมื่อปลงชีวิต ถวายเป็นที่ระลึกบูชาชาติเสร็จ ก็ร่ำลาและให้สติคนอื่น"
"สังข์ เราจะตายพร้อมกันหมด เราไม่รอดแล้ว บ้านระจันก็ล่มแล้ว เราจะอยู่ดูหน้าใครอีก"
"น้องเขยทหารกล้ามองมันเศร้าใจ รอบค่ายก็ล้วนแต่หน้าศึกพรั่งพร้อม แต่ไทยนั้นนอนสนิทหน้าแนบแผ่นดิน ซบไปแล้วทั้งสิ้น"
"ฉันจะตามไปตายร่วมทุกแห่ง แต่หญ้าหย่อมไหนเล่าจะยอมตาย"
"หย่อมศึกมากข้างหน้านี้แหละ แฟงเอ๋ย ขึ้นมาเคียงพี่เถิด มาตายเคียงพี่ ใกล้ผัวใกล้เมีย"
มันกวักมือแฟง เมื่อเจ้าประชิดมาแล้ว และจวงก็ขึ้นคู่นายสังข์ ยืนหยัดรับศึกเป็นสองคู่ ทัพก็กล่าวไปอีก
"เราจักยืนตายตรงนี้ ก้าวเดียวก็จะไม่ยอมถอย และไม่รุกล้ำหน้า เพราะจะทำให้แยกกันตาย"

ที่มา:หนังสือดี100ชื่อเรื่อง ที่คนไทยควรอ่าน

Search

GosuBlogger

Ads