ศรีทะนนไชย


ศรีทะนนไชยสำนวนกาพย์ สำนวนเก่าที่สุดที่ค้นพบ พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2501
เสภาเรื่องศรีทะนนไชยเซียงเหมี้ยง สำนวนแต่งในสมัยรัชกาลที่ 4


ศรีทะนนไชย เป็นนิทานพื้นบ้าน ที่เล่าสืบต่อกันมาช้านาน ในทั่วภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ ศรีทะนนไชยในยุคหลังๆ มีการดัดแปลง แต่งเติมเสริมต่อกันเรื่อยมา เพื่อให้สอดคล้อง กับยุคสมัยยิ่งขึ้น อนึ่ง แม้แต่ศรีทะนนไชย ที่ปรากฏเป็นเรื่องเล่า อยู่ในท้องถิ่นต่างๆ ก็มีเรื่องราวต่างกันอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะ ที่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน คือ เซียงเหมี้ยง
ซึ่งเป็นเรื่องเดียว กับศรีทะนนไชย ที่แพร่หลายในภาคเหนือ และภาคอีสาน แตกต่างกับ ศรีทะนนไชย ฉบับที่แพร่หลาย อยู่ในภาคกลาง ในสาระสำคัญมากทีเดียว

"แม้ว่ากษัตริย์และพระสงฆ์ จะเป็นสถาบันอันสูงส่ง ที่ชนชาติไท-ลาว ยอมรับนับถือมาช้านาน แต่ก็มิใช่ว่าสถาบัน จะเป็นสิ่งที่ขาวสะอาด นิทานเซียงเหมี้ยง ชี้ให้เห็นเรื่องราว อย่างธรรมดา ของกษัตริย์และพระสงฆ์ ที่มีรัก โลภ โกรธ หลง
และเพราะเหตุที่เป็นนิทาน ไม่ใช่เรื่องจริง ผู้เล่าจึงมีสิทธิ จะวิจารณ์ หรือล้อเล่น กับความรัก โลภ โกรธ หลง เหล่านั้น โดยไม่มีความผิด นี่เป็นช่องระบายออก ที่สังคมมีไว้ให้แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ผู้ที่คุ้นเคยกับนิทานพื้นบ้านล้านนา และล้านช้าง จะสังเกตว่า ทั้งกษัตริย์และพระนั่นแหละ ที่จะถูกนำมาเป็นตัวละครที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด ในอันดับต้นๆ ค่าที่เป็นสถาบัน อันมาจาก นอกหมู่บ้าน"

ที่มา:หนังสือดี100ชื่อเรื่อง ที่คนไทยควรอ่าน

Search

GosuBlogger

Ads