กามนิต


กามนิต : ภาคบนดินและภาคบนสวรรค์
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2473
เสฐียรโกเศศ (2431-2512) - นาคะประทีป (2432-2488) แปล


กาม นิต เป็นงานที่เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป แปลเรียบเรียงจากฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของจอห์น. อี. โลจี (John E. Logie) จากเรื่อง The Pilgrim Kamanita
ที่แปลจากบทประพันธ์ ภาษาเยอรมัน ของคาร์ล อดอล์ฟ เจลลิรูป (Karl Adolph Gjellerup) กวีและนักเขียนชาวเดนมาร์ค (พ.ศ.2400-2462)
ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม พ.ศ.2460 ฉบับภาษาไทย จัดพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2473
ถึงกามนิต จะเป็นวรรณกรรมแปล เรียบเรียงมาจากภาษาอื่น
แต่ ด้วยความปรีชาชาญทางภาษา และความรู้เรื่องต่างๆ อันเนื่องด้วยข้อความแปล ของผู้แปลทั้งสอง ผู้เป็นปราชญ์ทางภาษา และวัฒนธรรมของไทย
รวมทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนาและประเทศอินเดียที่คนไทยคุ้นเคย
ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องแปล กลายเป็นเรื่องไทย ซึ่งอ่านได้สนิทใจ
คำปรารภของ ส. ศิวรักษ์ ในหนังสือ กามนิต วาสิฏฐี ฉบับสำนักพิมพ์ศยาม พ.ศ.2534
(คำปรารภนี้ เขียนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2520) มีความบางตอนว่า
คุณค่าของกามนิต ในทางวรรณคดีนั้น ไม่เป็นที่กังขา
แต่คนส่วนใหญ่สมัยนี้ คงไม่ทราบว่า หนังสือนี้ เป็นหัวเลี้ยวที่สำคัญในทางวรรณกรรมไทย ฝ่ายพระพุทธศาสนาด้วย
ผู้ใหญ่ เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ปัญญาชนสมัยนั้น เริ่มรู้สึกแล้วว่า ไม่มีหนังสือสมัยใหม่ สอนพระพุทธศาสนา แก่คนรุ่นใหม่.....
พอกามนิตเผยร่างออกมา ทางสำนักไทยเขษม ปัญญาชนในสมัยนั้น ก็เลยโล่งอกไปว่า
ในรัชกาลที่เจ็ดมีหนังสือดี ในทางพระศาสนา ปรากฏออกมาแล้ว .....
แก่นอันเป็นคุณค่า ของเรื่องกามนิต คือ ความรัก ความทุกข์จากรัก และดับทุกข์ด้วยธรรมมะ
นวนิยายนี้ เป็นงานโรแมนติก อันมีความลึกซึ้ง รสรักทางวรรณกรรม ได้เจือธรรมรสเข้าด้วยกัน กลมกลืน ทรงพลัง ประทับใจ มิใช่งานประพันธ์ดาดๆ สำหรับชั่วเวลาสักระยะหนึ่ง
งานวรรณกรรมเรื่องนี้ จึงอยู่ในเกราะกำบัง ของกาลเวลา เนื่องจากความถึงพร้อม ของเนื้อหา และรูปแบบศิลปะ

ที่มา:หนังสือดี100ชื่อเรื่อง ที่คนไทยควรอ่าน

Search

GosuBlogger

Ads